ITH : International Trade and Health Programme
Login    Registration       TH | EN
Home Research Report / Articles โครงการศึกษาผลกระทบต่อสาธารณสุขจากข้อเสนอว่าด้วยการลงทุน

โครงการศึกษาผลกระทบต่อสาธารณสุขจากข้อเสนอว่าด้วยการลงทุน
Posted on 16.06.2020

โครงการศึกษาผลกระทบต่อสาธารณสุขจากข้อเสนอว่าด้วยการลงทุนในความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปและความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก (Potential Impacts on Public Health of the Proposed Investment Chapter under the Free Trade Agreement between Thailand and the European Union and the Transnational Pacific Partnership Agreement) (2014)

ด้วยเหตุที่ประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีฐานะเป็นผู้ส่งออกการลงทุน ประเทศเหล่านั้นจึงพยายามผลักดันให้มีการจัดทำกฎเกณฑ์ที่เอื้อ
ให้เกิดการลงทุนเสรี แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา การจัดทำความตกลงด้านการลงทุนโดยเฉพาะความตกลงที่มีเป้าหมายเพื่อเปิดเสรีการ
ลงทุน เพื่อคุ้มครองและระงับข้อพิพาทการลงทุนถือเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป อีกทั้งมีความสนใจที่จะเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้น
แปซิฟิกหรือทีพีพี ความตกลงการค้าเสรีทั้งสองกรอบนี้ต่างกำหนดประเด็นการลงทุนไว้เป็นหัวข้อหนึ่งของการเจรจา โดยให้มีการเปิดเสรี
การลงทุนอย่างกว้างขวางและให้มีบทคุ้มครองการลงทุนที่เข้มงวดรวมทั้งให้มีกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐ
การยอมรับข้อเสนอเรื่องการลงทุน ดังที่มีการเสนอในร่างความตกลงทีพีพี และความตกลงเอฟทีเอทย-สหภาพยุโรป ย่อมหมายถึงการที่
ประเทศไทยต้องยอมเปิดเสรีการลงทุนให้แก่ประเทศคู่เจรจาโดยปราศจากเงื่อนไข ยินยอมลดทอนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการกำกับ
การลงทุนในทุกสาขาความตกลงลักษณะนี้จะจำกัดอำนาจอธิปไตยของประเทศผู้รับการลงทุน มีผลกระทบต่อความสามารถของรัฐในอันที่
จะกำกับควบคุมนักลงทุนต่างชาติ และจะส่งผลกระทบต่อความสามารถของประเทศไทยในการเข้าถึงยา บทการลงทุนในความตกลงดังกล่าว
จะทำให้มาตรการที่มีอยู่ในกฎหมาย อันได้แก่ มาตรการบังคับใช้สิทธิการนำเข้าซ้อน ฯลฯ ไม่อาจนำมาใช้ควบคุมการใช้สิทธิในทรัพย์สิน
ทางปัญญารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการผูกขาดตลาดยา จำกัดโอกาสที่ผลิตภัณฑ์ยาซื่อสามัญจะเข้าสู่ตลาดเพื่อแข่งขัน นอกจากนี้ ยัง
จะส่งผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยแห่งรัฐในการตราและบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะเปิดโอกาสให้นักลงทุนและ
บรรษัทต่างชาติแทรกแซงการกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศไทยรัฐบาลไทยควรมีจุดยืนที่ชัดเจนว่า การเจรจาการค้าเพื่อเปิดเสรี
การลงทุนควรจะดำเนินกาโดยผ่านความตกลงระหว่างประเทศแบบพหภาคีเท่านั้น ในการเจรจาความตกลงเอฟทีเอกับต่างประเทศ ประเทศ
ไทยควรมีท่าทีที่ซัดเจนในประเด็นการลงทุนโดยจะต้องไม่ลดหย่อนหรือยอมรับกติกาหรือกฎเกณฑ์การลงทุนใดๆเกินเลยไปจากสิ่งที่
เป็นอยู่ในปัจจุบันหากจะมีการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศด้านการลงทุน ความตกลงดังกล่าวควรจะมีความสมดุล มีบทบัญญัติที่ปกป้องสิทธิของนักลงทุนตามสมควรพร้อมทั้งคุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศผู้รับการลงทุนและควรมีบทบัญญัติที่กำกับควบคุมพฤติกรรมและการกระทำที่ไม่เหมาะสมของนักลงทุน

ร่วมจัดทำโดย


Share on :