ITH : International Trade and Health Programme
Login    Registration       TH | EN
Home ITH Booklets กำลังคนด้านสุขภาพเมื่ออาเซียนไร้พรมแดน บทเรียนจากสหภาพยุโรป

กำลังคนด้านสุขภาพเมื่ออาเซียนไร้พรมแดน บทเรียนจากสหภาพยุโรป
Posted on 07.05.2021

ปี พ.ศ. 2558 ไทย พร้อมด้วยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า และ บรูไน ดารุสซาราม จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งรวมถึงการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) เพื่อสร้างให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเปิดเสรีการค้าภายในกรอบอาเซียน อันจะทําาให้สินค้าและบริการ รวมถึงแรงงานในกิจกรรมเศรษฐกิจสาขาต่างๆ มีการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนได้อย่างเสรีภายใต้กรอบข้อตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ภายใต้กรอบข้อตกลงการค้าด้านบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ได้กําาหนดให้สาขาการบริการสุขภาพ เป็นหนึ่งในสาขาเร่งรัดที่ให้มีการเปิดเสรี

รัฐบาลของกลุ่มประเทศอาเซียน ได้จัดทํา Roadmap for Integration of Healthcare Sector หรือ แผนที่การบูรณาการสาขาบริการสุขภาพขึ้นมาเป็นทิศทางให้ทุกประเทศสมาชิกยึดถือร่วมกัน และใช้เป็นแนวทางหลักในการทําข้อตกลงการยอมรับร่วมระดับภูมิภาค(Mutual Recognition Arrangements - MRA) ในสาขาบริการวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อเอื้อให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรในสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้เกิดการร่วมลงทุนด้านสุขภาพในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ตามเป้าหมายที่มีการวางไว้ร่วมกันภายใต้กรอบข้อตกลงการยอมรับร่วมสาขาบริการวิชาชีพด้านสุขภาพผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองคุณสมบัติวิชาชีพโดยหน่วยงานที่มีอําานาจในประเทศตนจะได้รับการยอมรับโดยหน่วย งานที่มีอําานาจในประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศอื่นโดยสอดคล้องกับกฎระเบียบภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ ที่ได้รับการ รับรองคุณสมบัติจากแพทยสภาของประเทศไทย จะสามารถไปปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพแพทย์ในประเทศสิงคโปร์ได้ ภายใต้กฎระเบียบของแพทยสภาหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่คล้ายคลึงกันในประเทศสิงคโปร์ ขณะเดียวกัน พยาบาลฟิลิปปินส์ที่ได้รับการรับรองใบประกอบวิชาชีพจากองค์กรวิชาชีพการพยาบาลของฟิลิปปินส์ ก็สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้ภายใต้กรอบข้อบังคับของสภาการพยาบาลไทย เป็นต้น ทั้งนี้ข้อตกลงการยอมรับร่วมในแต่ละสาขาวิชาชีพ จะเกิดจากการเจรจาตกลงกันของตัวแทนกลุ่มสาขาวิชาชีพของแต่ละประเทศ จนถึงปัจจุบันสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ลงนามในข้อตกลงการยอมรับร่วมกันของสาขาบริการวิชาชีพด้านสุขภาพแล้ว 3 สาขาวิชาชีพ คือ ข้อตกลงการยอมรับร่วมของสาขาวิชาชีพพยาบาล (Mutual Recognition Arrangement on Nursing Services) ในเดือนธันวาคม 2549 ข้อตกลงการยอมรับร่วมกันของวิชาชีพแพทย์ (Mutual Recognition Arrangement on Medical Practitioners) และ ข้อตกลงการยอมรับร่วมของวิชาชีพทันตแพทย์ (Mutual Recognition Arrangement on Dental Practitioners) ซึ่งลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ชะอำประเทศไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 การทำข้อตกลงการยอมรับร่วมในสาขาบริการด้านสุขภาพ อันจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของบุคลากรในสาขาวิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นกำลังหลักสำคัญของระบบบริการ สุขภาพของประเทศไทยนี้ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อภาพรวมของระบบบริการสุขภาพในประเทศได้ เนื่องจากประเทศไทยมีปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน

อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะคาดการณ์ผลกระทบต่อการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทยภายใต้การเปิดการค้าเสรีในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ลองมาดูผลกระทบหรือปรากฏการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีการเปิดเสรีการค้าด้านบริการสุขภาพมาก่อน


Share on :