หน้าแรก ความเป็นมา
แผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ
(International Trade and Health Programme, ITH)

     แผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ (International Trade and Health Programme, ITH) เป็น 1 ใน 5 แผนงาน
ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย (กับองค์การอนามัยโลก โดยดำเนินการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือ
ระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก (WHO Country Cooperation Strategy : CCS) ค.ศ.2012-2016 และ ค.ศ. 2017-2021)

     แผนงาน ITH มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงนโยบายด้านการค้าและด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อประชาชนไทยด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
โดยดำเนินงานภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
  • ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างและจัดการองค์ความรู้
  • ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างหน่วยงานเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ยุทธศาสตร์ด้านการเผยแพร่ข้อมูลและสนับสนุนนโยบาย
  • ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถ
     ซึ่งภารกิจสำคัญประกอบด้วยด้านการทำวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำรายงานและบทความทางด้านวิชาการต่าง ๆ เพื่อการตีพิมพ์ผลงานวิชาการทั้งในระดับประเทศและระดับสากล การจัดประชุมวิชาการ เป็นต้น  
     นอกจากนี้ แผนงาน ITH ยังทำหน้าที่สนับสนุนด้านวิชาการให้กับคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ และใช้ช่องทางนี้ในการนำเสนอข้อมูลสู่ภาคนโยบายด้วย


เป้าหมาย

"สร้างหลักฐานงานวิจัยเชิงประจักษ์ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีของประชากรไทย"



ขอบเขตการดำเนินงาน

  • การค้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • ประเด็นเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับความตกลงทางการค้าเสรีต่าง ๆ
  • การค้า การลงทุนด้านอาหาร
  • การค้าและสิ่งแวดล้อม


ผลงานเด่นที่ผ่านมา

 

  • ASEAN mutual recognition arrangements for doctors, dentists and nurses  
  • กลไกการระงับข้อพิพาทการลงทุนกับผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ผลกระทบของข้อตกลงยอมรับร่วมของบุคลากรสาธารณสุขภายใต้กรอบอาเซียนต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย: วิเคราะห์ประสบการณ์จากสหภาพยุโรป (Impacts of ASEAN Mutual Recognition Arrangements (MRAs) for Health Professionals on the Health System in Thailand: The Analysis of the Experience from the European Union)
  • การเวนคืนโครงการหรือกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: กรณีศึกษาเหมืองแร่ทองคำ (Investor-State-Dispute-Settlement and health impacts: the case of gold mine in Thailand)