หน้าแรก การประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการ การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ ปี 2559

การประชุมวิชาการ การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ ปี 2559
16.06.2020

๑๑ ส.ค. ๒๕๕๙ - คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจราจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (NCITHS) ร่วมกับ แผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศกับสุขภาพ (ITH) ภายใต้มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดการประชุมวิชาการ การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ ปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรม ฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพ สีลม ในหัวข้อ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans Pacific Partnership Agreement) โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ TPP และ ผลกระทบต่อการสาธารณสุขและระบบสุขภาพ (๒) เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจใช้ประกอบในการพิจารณากําหนดประเด็นเจรจาภายใต้เงื่อนไข TPP ที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพอย่างเชื่อมโยงกัน และ (๓) เพื่อให้ได้ข้อเสนอต่อนโยบายและ/หรือ มาตรการรองรับ ชดเชยเยียวยาผลกระทบต่อการสาธารณสุขและระบบ สุขภาพหากประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก TPP

ในวันแรกของการประชุมศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมด้วย นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดร.Nima Asgari ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และ ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานคณะกรรมการ NCITHS ได้ให้เกียรติขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เพื่อเปิดการประชุม โดยสำหรับวันแรกนี้มีการปาฐกถาพิเศษเรื่อง TPP โดยนายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนการนำเสนอและอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ แบ่งเป็น ช่วงที่ ๑ ภาพรวมของ TPP: ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย และโอกาสเพื่อการปฏิรูป ช่วงที่ ๒ การประมาณการผลกระทบด้านเศรษฐกิจของ TPP ต่อประเทศไทย และ ช่วงที่ ๓ ประสบการณ์จากประเทศสมาชิก TPP และ/หรือ ประเทศอาเซียน: จากการเข้าร่วมการเจรจาตลอดจนการสรุปข้อตกลงและปฏิรูประบบ

ในวันที่สองของการประชุมมีการนำเสนอและอภิปรายทั้งหมดสี่ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ ๔ ข้อบทที่มีผลกระทบโดยรวม และความเชื่อมโยง: ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ ช่วงที่ ๕ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรพันธุกรรม การแพทย์แผนไทย ความหลากหลายทางชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์: ประเทศไทยควรทำอย่างไร ช่วงที่ ๖ ยา วัคซีนและชีววัตถุ: ข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับ TPP ต่อระบบยาและระบบสุขภาพ และ ช่วงที่ ๗ เครื่องมือแพทย์: ข้อดีและข้อเสียของเครื่องมือแพทย์ปรับแต่งใหม่

ในวันที่สามของการประชุมซึ่งเป็นวันสุดท้าย มีการนำเสนอและอภิปรายในหัวข้อ เครื่องสำอางและอาหาร: การอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นในกระบวนการขออนุญาตขายและการใช้มาตรฐานระดับสากล เป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับประเทศไทยหรือไม่? และ ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ข้อจำกัดการกำหนดฉลาก มาตรการที่คุ้มค่า และพื้นที่ในการกำหนดนโยบายและมาตรการ ซึ่งเป็นช่วงที่ ๘ และช่วงที่ ๙ ของการประชุมตามลำดับ จากนั้นได้มีการบรรยายหัวข้อพิเศษ ในเรื่อง ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก: ความท้าทายหรือโอกาสสำหรับประเทศไทย โดย ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และอดีตเลขาธิการอังค์ถัด ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการประชุมซึ่งเป็นการนำเสนอข้อสรุป ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อ TPP มาตรการเตรียมการ และงานวิจัยในอนาคตที่ได้จากการประชุม โดยนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการจัดประชุม ดร.นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขระหว่างประเทศ และ ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รักษาการในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านส่งเสริมสุขภาพ (นายแพทย์) (ด้านสาธารณสุข)


เอกสารนำเสนอ

ช่วงที่ ๑ ภาพรวมของ TPP: ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย และโอกาสเพื่อการปฏิรูป

  1. Ministry of Commerce’s Approach to the Trans-Pacific Partnership โดย นางสาวพุทธชาติ วงษ์มงคลกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 
  2. Trans-Pacific Partnership: Pathway to Economic Development โดย นายไพสิฐ บุญปาลิต กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
  3. Overview on TPP: Potential impact on Thailand's economy and a chance for country reform โดย ดร.วิศาล บุปผเวส  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ช่วงที่ ๒: ประมาณการผลกระทบด้านเศรษฐกิจของ TPP ต่อประเทศไทย

  1. Predicted Economic Impacts of TPP to Thailand โดย อาจารย์วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
  2. Economic Impact of Trans-Pacific Partnership (TPP) on Thai Economy โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ช่วงที่ ๓: ประสบการณ์จากประเทศสมาชิก TPP และ/หรือ ประเทศอาเซียน: จากการเข้าร่วมการเจรจาตลอดจนการสรุปข้อตกลงและปฏิรูประบบ

  1. Experience on TPP, from joining the negotiation through agreement finalization and system reform โดย Madam Siti Aida Abdullah National Pharmaceutical Regulatory Agency (NPRA), Ministry of Health, Malaysia
  2. Health related Issues in TPP โดย Mr Tomoaki Katsuda  Assistant Minister for International Affairs, Ministry of Health, Labour and Welfare, Japan

ช่วงที่ ๔: ข้อบทที่มีผลกระทบโดยรวม และความเชื่อมโยง: ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ

  1. TPPA and Regulating for Health in Thailand โดย Prof Dr Jane Kelsey University of Auckland, New Zealand 
  2. Cross Sectors Application and Implementation of TPPA โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  3. ข้อบทที่มีผลกระทบโดยรวม โดย Dr Kiyoshi Adachi  UNCTAD
  4. Some TPP Chapters That Can Affect Health Laws and Policies โดย Ms Sanya Reid Smith  Third World Network, Geneva

ช่วงที่ ๕: ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรพันธุกรรม การแพทย์แผนไทย ความหลากหลายทางชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์: ประเทศไทยควรทำอย่างไร 

  1. Traditional knowledge and genetic resource (TK & GR), Traditional medicine and biodiversity and benefit sharing: what Thailand should do โดย Dr Manisha Shridhar World Health Organization, South-East Asia Regional Office 
  2. Traditional knowledge and genetic resource, traditional medicine and biodiversity and benefit sharing: what Thailand should do โดย Yeo Tiong Chia Sarawak Biodiversity Centre, Malaysia
  3. Experience of India & State of Kerala on Working with Knowledge Holders for Conservation of Traditional Knowledge through People’s Biodiversity Register โดย ดร.ภญ.อัญชลี จูฑะพุทธิ (นำเสนอแทน Dr. K.P. Laladhas)  กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  4. Progress of WIPO IGC Negotiation on TK and GR? โดย ดร.ธนิต ชังถาวร  สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล

ช่วงที่ ๖: ยา วัคซีนและชีววัตถุ: ข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับ TPP ต่อระบบยาและระบบสุขภาพ

  1. TPP and impact on medicine, vaccines, biological products and health system โดย ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ กระทรวงสาธารณสุข 
  2. Medicines, vaccines and biological products: the concerns over TPP on medicine and health syste โดย รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
  3. The TPP and Biologic Medicines โดย Dr Deborah Gleeson  La Trobe University, Australia
  4. Vaccine Development beyond TPP โดย Dr Naoko Yamamoto Ministry of Health, Labour and Welfare, Japan
  5. TPP: Medicinces and IP โดย Dr Kiyoshi Adachi UNCTAD

ช่วงที่ ๗: ข้อดีและข้อเสียของเครื่องมือแพทย์ปรับแต่งใหม่

  1. Remanufacturing: Pros and Cons โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. Medical devices: Pros and Cons of remanufactured goods โดย ผศ.นพ.พิศิษฐ วัฒนเรืองโกวิท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ช่วงที่ ๘: เครื่องสำอางและอาหาร: การอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นในกระบวนการขออนุญาตขายและการใช้มาตรฐานระดับสากล เป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับประเทศไทยหรือไม่?

  1. What will the TPP mean for nutrition-related health? โดย Dr Deborah Gleeson La Trobe University, Australia
  2. Foods : More Facilitation in Premarketing Process and International Standard are better for Thailand? โดย นางมาลี จิรวงศ์ศรี สำนักอาหาร อ.ย.
  3. Cosmetics Regulatory Requirement in Thailand & Impacts of TPP โดย ดร.สุมาลี พรกิจประสาน สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย อ.ย.
  4. TPP and Food Safety TPP help Thailand improve its food safety system? โดย นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี

ช่วงที่ ๙: ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ข้อจำกัดการกำหนดฉลาก มาตรการที่คุ้มค่า และพื้นที่ในการกำหนดนโยบายและมาตรการ

  1. TPP Impact on Thailand's Economy, Society, and Health System โดย นพ.สมาน ฟูตระกูล กรมควบคุมโรค
  2. TPPA: Regulating for Tobacco & Alcohol in Thailand โดย Prof Dr Jane KelseyUniversity of Auckland, New Zealan
  3. Implications of the TPPA for Tobacco Control in Thailand โดย รศ.ดร.สุชาดา ตั้งทางธรรมสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย
  4. TPP and Alcohol Policy in Thailand โดย ผศ.ดร.ภก.สุรศักดิ์ ไชยสงค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

View : (4009)

Share on :