หน้าแรก รายงานการวิจัย / บทความ การศึกษาลักษณะของผู้ป่วยต่างชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มารับบริการสุขภาพในประเทศไทย

การศึกษาลักษณะของผู้ป่วยต่างชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มารับบริการสุขภาพในประเทศไทย
Posted on 28.04.2021

     ในแต่ละปีมีผู้ป่วยต่างชาติเข้ามารับบริการในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ประมาณการว่าในแต่ละปี  จำนวนผู้ป่วยที่เดินทางเข้ามารักษาในสถานพยาบาลในประเทศไทยมีกว่า 1.5 ล้านคน ปัจจัยมีสำคัญคือ ราคาค่ารักษาพยาบาลที่ไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ การให้บริการที่มีคุณภาพบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ความสามารถ และความมีน้ำใจโอบอ้อมอารีของผู้ให้บริการ ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ที่สำคัญในระดับภูมิภาค ภาครัฐเองก็มีนโยบายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยมุ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย ประกอบกับภายในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งเงินทุนและบุคลากรระหว่างประเทศสมาชิก และอาจจะเป็นการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปสู่การรับบริการทางการแพทย์ในประเทศอื่นๆในภูมิภาคด้วย จากองค์ความรู้ที่มีอยู่จำนวนผู้ป่วยต่างชาติในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีน้อยมาก ทั้งในเรื่องของจำนวน ลักษณะทางประชากร และบริการสุขภาพที่ต้องการ การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาลักษณะของผู้ป่วยดังกล่าวในโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงในการให้บริการชาวต่างชาติ ผลการศึกษาพบว่าในปี2553 มีจำนวนวนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 14,730 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากประเทศเมียนมาร์ และกัมพูชา ในปีเดียวกันมีผู้ป่วยที่เป็นชาวต่างชาติจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พำนักอยู่ในประเทศไทยจำนวน 5,275 มาจากประเทศเมียนมาร์ ประเทศฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ตามลำดับ โดยผู้จากทั้งสองกลุ่มมีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องลักษณะทางประชากรและบริการสุขภาพที่ต้องการ จากการศึกษาคาดประมาณการว่าการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอาจมีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทยไม่มากนัก แต่อาจจะเพิ่มจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มที่เข้ามาทำงานหรือพำนักในประเทศไทยมากขึ้น


Share on :