อุตสาหกรรมยาในประเทศไทยมุ่งเน้นเพื่อผลิตยาสามัญ และแข่งขันกันด้วยราคา ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมุ่งเน้นการลงทุนการวิจัยและพัฒนายาเพื่อการแข่งขันด้านนวัตกรรมในตลาดโลก คาถามที่สาคัญคือ มาตรการด้านนโยบายที่มีความสอดคล้องอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมศักยภาพทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ และ เพิ่มการเข้าถึงยาของประเทศควรเป็นอย่างไร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่
ทีมวิจัยใช้รูปแบบการประเมินผลกระทบฯ ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) สรุปผลการวิจัยดังนี้
1. สถานการณ์อุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศไทย พบว่าแนวโน้มมูลค่าการผลิตและนาเข้ายาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2538 สัดส่วนมูลค่าการผลิตยาในประเทศมากกว่าการนาเข้า คิดเป็นประมาณ 65:35 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 สัดส่วนดังกล่าวได้สลับด้านอย่างสมบูรณ์เป็น 35:65 สะท้อนแนวโน้มความมั่นคงด้านยาที่ลดลงในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาศักยภาพของผู้ผลิต นาเข้ายา แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) สิงห์โต กลุ่มศักยภาพการวิจัยพัฒนาสูงและยอดขายสูงสุด 2) แพนด้า กลุ่มนาเข้ายาต้นแบบหรือยาสามัญเป็นหลัก 3) โคอะล่า บริษัทที่มีการผลิตยาสามัญใหม่ต่ากว่า 50% แต่ยอดขายขึ้นกับยาสามัญเป็นหลัก และ 4) แร็คคูน กลุ่มนาเข้ายาสามัญใหม่เป็นหลัก แต่ส่วนใหญ่ยอดขายไม่สูงมาก
2. พบความไม่สอดคล้องของนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยา การนาเข้าและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การสนับสนุนการลงทุน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลต่อความพร้อมในการพัฒนาอุตสาหกรรมยา ทีมวิจัยเสนอชุดนโยบายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ชุดนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยี (complexity) และ ชุดนโยบายเพื่อขยายตลาด (scale) โดยมีเป้าหมายนโยบาย เพื่อให้ “อุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศเป็นอุตสาหกรรมหลัก ที่สร้างรายได้ให้ประเทศ โดยมีความเชื่อมโยงของการกาหนดนโยบายตลอดซัพพลายเชน นาไปสู่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีด้านยา การผลิตยา และมีความมั่นคงด้านยา”
3. ผลการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโมโนโคลนอลแอนติบอดี พบว่าต้นทุนตามกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จนถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ล้วนเป็นต้นทุนคงที่ มีมูลค่าสูงถึง 705 - 890 ล้านบาทต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ 1 ชนิด และใช้ระยะเวลานานถึง 8 - 10 ปี โดยกระบวนการที่มีต้นทุนสูงสุดคือ การศึกษาทางคลินิก ซึ่งใช้ต้นทุนสูงถึง 360 - 420 ล้านบาท จากการประมาณการมูลค่าการขายยาชีววัตถุคล้ายคลึง Pertuzumab และ Pembrolizumab พบว่ายอดขายยาชีววัตถุคล้ายคลึงต่อปีอยู่ที่ประมาณ 86-1400 ล้านบาท มีระยะเวลาคืนทุนตั้งแต่ 1 - 14 ปี โดยขึ้นอยู่กับส่วนแบ่งการตลาด อุบัติการณ์ ความชุกของโรค และการสนับสนุนจากภาครัฐ
4. การประเมินผลกระทบความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสาหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ในข้อบท Patent linkage, Government procurement และ State owned Enterprise โดยใช้แบบจาลองพลวัตรระบบ (System Dynamic Modeling) พบว่า จะหากเข้าร่วม CPTPP จะทาให้ประเทศไทยต้องมีค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นประมาณ 400,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสถานการณ์ไม่เข้าร่วมความตกลง ประเทศจะต้องพึ่งพาการนาเข้ามากขึ้นถึง 89% เทียบกับ 76% ในสถานการณ์ไม่เข้าร่วมความตกลง มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมยาภายในประเทศหายไปถึง 100,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสถานการณ์ไม่เข้าร่วม
5. การประเมินผลกระทบของข้อเสนอนโยบายทางเลือกในการพัฒนาอุตสาหกรรมยา โดยใช้แบบจาลองพลวัตรระบบ โดยเพิ่มระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และการเพิ่มขนาดมูลค่าของอุตสาหกรรมยาให้สูงขึ้น เพื่อให้อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ พบว่า เมื่อจาลองสถานการณ์ของอุตสาหกรรมยาชีวภาพ และยาเคมีตั้งแต่ปี 2562 – 2590 แยกออกเป็น 2 สถานการณ์ ได้แก่ (1) สถานการณ์ที่ทุกอย่างดาเนินไปตามปกติ (business as usual, BAU) ประเทศยังคงส่งเสริมอุตสาหกรรมยาในประเทศในรูปแบบ และระดับที่ดาเนินการอยู่แล้ว และ(2) สถานการณ์หากมีการดาเนินการตามข้อเสนอนโยบายเพื่อพัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมยาภายในประเทศอย่างเป็นระบบ ผลการประเมิน พบว่า หากประเทศไทยมีการดาเนินนโยบายส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมยาอย่างเป็นระบบ และบรรลุเป้าหมายตามข้อเสนอในฐานะอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่นอกจากจะเป็นรากฐานสาคัญของความมั่นคงของระบบสุขภาพแล้ว ในปี 2590 อุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศจะเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขยายการลงทุน และการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิตภายในประเทศซึ่งมีมูลค่ารวม 708,106 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2 ของ GDP ในปี 2590
Today | This Month | Total | |||
79 | 1221 | 150439 |