หน้าแรก รายงานการวิจัย / บทความ การศึกษาและจัดทำข้อมูลเชิงประจักษ์ในการนำเข้าและความสามารถในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และกากแร่ของประเทศไทย (ระยะที่หนึ่ง)

การศึกษาและจัดทำข้อมูลเชิงประจักษ์ในการนำเข้าและความสามารถในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และกากแร่ของประเทศไทย (ระยะที่หนึ่ง)
Posted on 16.06.2020

การจัดการกากแร่ในประเทศไทย คือ การส่งออก การแปรใช้ใหม่ เช่น การเป็นวัสดุทดแทนในเตาเผา
ปูนซีเมนต์ การใช้แทนทรายสร้างถนน การใช้เป็นวัสดุขัดโลหะ เป็นต้น และการฝังกลบ แต่หากเป็นการนำเข้า
จากประเทศญี่ปุ่นจะไม่อนุญาตนำมาฝังกลบ โดยกากแร่ที่มีการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดคือ รหัส
2621.90.00 คิดเป็น 98.15% ของปริมาณกากแร่ที่ถูกนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นในปี 2001-2017 โดยพิกัดนี้
หมายถึงกากแร่อื่นๆ จึงเลือกกากแรในรหัสนี้ในการศึกษาในระยะต่อไป สำหรับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์
มีวิธีการจัดการโดยผู้รับรีไซเคิลทั้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานกำกับดูแล
ทั้งภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข โดยของเสียขั้นที่สองจากกระบวนการรีไซเคิล จะมี
วิธีการจัดการได้แก่ การนำไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือพลังงานทดแทน การเผาในเตาเผาขยะอันตราย การเผาแบบ
เปิดโล่ง การฝังกลบ หรือการเทกอง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณของอุปกรณ์ฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในรหัส
ศุลกากร 800 คือ ใช้งานแล้ว และ รหัส 899 คือขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามอนุสัญญาบาเซล ที่มีการนำเข้ามาใน
ประเทศเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007-2017 พบว่าปริมาณที่นำเข้ามามากที่สุดอันดับหนึ่ง คือ
เครื่องปรับอากาศคิดเป็นปริมาณ 34.50% อันดับสองคือ คอมพิวเตอร์ 28.53% และเมื่อคิดในเชิงมูลค่าการ
นำเข้าพบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงที่สุดคือเครื่องปรับอากาศ 50.95% อันดับที่สองคือ
แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 19.31% ดังนั้น ผู้วิจัย จึงได้เลือกศึกษาเครื่องใช้ไฟฟ้า 3 ชนิด คือ เครื่องปรับอากาศ
คอมพิวเตอร์ และ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เชิงปริมาณในระยะที่สองต่อไป โดยการ
จัดทำข้อมูลเชิงปริมาณของผังการไหลจะอาศัยข้อมูลทั้งจากข้อมูลสถิติ รายงานการศึกษา การสำรวจ การ
วิเคราะห์ตัวอย่าง แบบสอบถามและการสัมภาษณ์


Share on :