การศึกษาประสบการณ์และกระบวนการไปทำงานในต่างประเทศของพยาบาลไทยครั้งนี้ใช้
ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของพยาบาลไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ 2) ระบวนการไปทำงานต่างประเทศของพยาบาลไทย 3) ประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศของพยาบาลไทย และ 4) กระบวนการสรรหาพยาบาลไทยไปทำงานต่างประเทศของตัวแทนผู้สรรหา (Recruiter) เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2555 รวม 9 เดือน การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงานในต่างประเทศจำนวน 14 ราย สนทนากลุ่มพยาบาลที่สนใจจะไปทำงานต่างประเทศจำนวน 14 รายและสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 2 ราย และสัมภาษณ์ตัวแทนผู้สรรหาพยาบาลไทยไปทำงานต่างประเทศจำนวน 5 ราย การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณช้แบบสอบถามอิเลคทรอนิกส์ (Online Questionnaire) ใน
พยาบาลที่กำลังทำงานในต่างประเทศ มีผู้ตอบแบบสอบถาม 63 ราย ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. คุณลักษณะของพยาบาลไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ
ระหว่าง 41-60 ปี และสำเร็จพยาบาลศาสตรบัณฑิตจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาครัฐก่อนไปทำงานต่างประเทศเคยทำงานในสถานบริการของสภากาชาดไทย ภาคเอกชน และสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและทำงานในกรุงเทพมหานคร ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนปีประสบการณ์ก่อนจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ 1-5 ปี มีความเชี่ยวชาญสาขาการพยาบาลอายุกรรมและผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉินใช้ระยะเวลาในการเตรียมตัวไปทำงานต่างประเทศเฉลี่ย 22.3 เดือน ส่วนใหญ่สมัครงานด้วยตนเองประมาณร้อยละ 8 ใช้บริการตัวแทนผู้สรรหา เดินทางเข้าประเทศด้วยวีซ่าจ้างงาน ท่องเที่ยว และนักเรียน ตามลำดับ ประเทศที่ไปทำงานกันมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่ทำงานในสถานบริการของเอกชนในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ 3 อันดับแรก คือ ต้องการประสบการณ์ ค่าตอบแทนที่มากขึ้น และ ต้องการพัฒนาตนเองและศึกษาต่อร่วมจัดทำโดย
2. กระบวนการไปทำงานต่างประเทศของพยาบาลไทย จากข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณพบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของพยาบาลสมัคไปทำงานด้วยตนเองและใช้วิธีการหลายอย่างร่วมกัน ส่วนใหญ่ศึกษาข้อมูลด้วยตนเองและสอบถามจากเพื่อนหรือคนที่รู้จัก ผ่านการเตรียมความพร้อมด้านภาษาด้วยตนเองและโรงเรียนสอนภาษา เดินทางไปทำงานด้วยวีซ่าจ้างงาน นักท่องเที่ยว และนักเรียน ใช้ระยะเวลา
ในการเตรียมความพร้อมด้านภาษา การสมัครสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ประมาณ 1-2 ปี ขั้นตอนการสมัครงานที่ยากที่สุดคือ การสอบผ่านภาษาให้ได้ตามเกณฑ์และการสอบขึ้น
ทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล พบว่าในระยะแรกพยาบาลส่วนใหญ่ทำงานต่ำกว่า
คุณวุฒิ เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงตั้งแต่เตรียมตัวจนได้งานทำอย่างต่ำประมาณสองแสนบาท นอกจากนี้มี
พยาบาลจำนวนน้อยที่ได้รายงานตัวต่อกรมการจัดหางานก่อนออกเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยรวม
กระบวนการไปทำงานต่างประเทศของพยาบาลเป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่ง่ายเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
3. ประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศของพยาบาลไทย พบว่า พยาบาลส่วนใหญ่ระบุว่าได้รับ
การจ้างงานอย่างเป็นธรรมและได้รับค่าตอบแทนคุ้มค่า มีระบบการปฐมนิเทศงานและสอนงานจากพี่เลี้ยง
มีโอกาสในความก้าวหน้าในวิชาชีพและการศึกษาต่อ มีสภาพการทำงานเน้นการปฏิบัติตามมาตรฐานการ
พยาบาลและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการเป็นอันดับแรกและการจัดเวรมีความยืดหยุ่น นอกจากนี้
ภาษาถูกระบุว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการทำงานและการดำเนินชีวิตของพยาบาลมากที่สุด มีพยาบาล
ส่วนน้อยที่ประสบปัญหาการเหยียดสีผิว การปฏิบัติที่ไม่เคารพในศักดิ์ศรี และการถูกกระทำรุนแรงทางวาจา
4. กระบวนการสรรหาพยาบาลไทยไปทำงานต่างประเทศของตัวแทนผู้สรรหา พบว่า บริษัทหรือ
ตัวแทนผู้สรรหาไม่ได้ดำเนินธุรกิจสรรหาพยาบาลไทยเพื่อไปทำงานต่างประเทศที่ชัดเจนและบริษัทไม่ได้
จดทะเบียนเป็นผู้จัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศกับกระทรวงแรงงาน ลักษณะการทำงานใช้วิธีการแนะนำ
พยาบาลที่สนใจไปทำงานต่างประเทศให้กับบริษัท/ตัวแทนผู้สรรหาในประเทศปลายทางให้จัดหางานให้
และให้การช่วยเหลือเมื่อต้องการ
ผลการวิจัยนี้ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนธำรงรักษาบุคลากรทางการพยาบาลไว้ใน
ระบบสุขภาพโดยปรับปรุงระบบการจ้างงานและค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม การสร้างเสริม
สภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน รวมทั้งหามาตรการให้บริษัทหรือตัวแทนผู้สรรหามีระบบติดตามดูแล
ช่วยเหลือพยาบาลไทยที่ใช้บริการที่ชัดเจนเพื่อให้เป็นไปตามประมวลหลักปฏิบัติองค์การอนามัยโลกว่าด้วย
การสรรหาบุคลากรด้านสุขภาพเข้าทำงานระหว่างประเทศต่อไป
คำสำคัญ: การจ้างงานระหว่างประเทศ/ประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศ/กระบวนการไปทำงานใน
ต่างประเทศ/พยาบาลไทย
Today | This Month | Total | |||
204 | 1693 | 160630 |