งานวิจัยฉบับนี้จัดทาขึ้นเพื่อเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับความตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ (Free Trade Agreement: FTA) ได้นำมาซึ่งประโยชน์ทางด้านการค้าโดยเฉพาะการส่งออกและดึงดูดเงินลงทุนจากบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ทั่วโลกมากน้อยเพียงใดโดยใช้ไทยเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อีกชิ้นเพื่อช่วยในการกาหนดยุทธศาสตร์ทางด้านการลงนามเอฟทีเอของประเทศให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต ผลการศึกษาพบว่าการใช้สิทธิเอฟทีเอของไทยทั้งทางด้านการส่งออกและนาเข้าที่ผ่านมาระหว่างปี พ.ศ. 2558-2562 มีจากัดโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 39.5 และ 25.9 สำหรับทางด้านการส่งออกและนาเข้าตามลำดับการใช้สิทธิค่อนข้างกระจุกตัวในสินค้ากลุ่มเล็ก ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดยานยนต์โดยเฉพาะรถยนต์สำเร็จรูปและเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับสินค้าที่มีผลต่อสุขภาพที่ผ่านมาเอฟทีเอไม่ได้ส่งผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าทั้งมูลค่าเพิ่มขึ้น/ลดลง และการเปลี่ยนแปลงประเทศคู่ค้าแต่อย่างใด บทวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สิทธิข้างต้นสอดคล้องกับการประเมินการส่งออกและนำเข้าในระดับทวิภาคีโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ (Gravity Equation) ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2562 ที่พบว่าเอฟทีเอโดยภาพรวมมีผลกระตุ้นการค้าทวิภาคีกับประเทศคู่ค้าเอฟทีเอค่อนข้างจากัด และเป็นไปในลักษณะการอานวยความสะดวกต่อการค้าที่มีอยู่เดิม แทนการเปิดโอกาสการค้าใหม่ นอกจากนั้นการลงนามเอฟทีเอไม่ได้มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับแนวโน้มการลงทุนโดยตรงในไทยอย่างชัดเจน นัยเชิงนโยบายของการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มการค้าและการลงทุนที่เกิดขึ้นหลังที่ไทยลงนามความตกลงเอฟทีเอที่ผ่านมามีค่อนข้างจากัด การประเมินผลกระทบสุทธิจากการลงนามเอฟทีเอที่ใช้แบบจาลอง GTAP บนสมมติว่าการลงนามเอฟทีเอแล้วทำให้เกิดการใช้สิทธิอย่างกว้างขวางและทั่วถึงน่าจะเป็นการประเมินค่าเกินความเป็นจริงและทาให้การตัดสินใจลงนามความตกลงเอฟทีเอคลาดเคลื่อนได้
Today | This Month | Total | |||
181 | 5485 | 164422 |