ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงยอมรับร่วมของวิชาชีพพยาบาล เมื่อเดือนชันวาคม 2549 และลงนาม
ในข้อตกลงยอมรับร่วมของวิชาชีพแพทย์ และวิชาชีพทันตแพทย์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 อันถือเป็นความ
เปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อระบบสุขภาพในภูมิภาค การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากข้อตกลงขอมรับร่วม
โดยวิเคราะห์ผลกระทบจากการทำข้อตกลงยอมรับร่วมในสหภาพยุโรป ซึ่งมีความซับซ้อนและใช้เวลาถึง 30 ปี (2518 -
2548) สหภาพยุโรปมีรัฐสมาชิกมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ไม่แตกต่างกันมากเหมือนอาเชียน รวมทั้งมีความ
คล้ำายคลึงของระบอบการปกครองและวัฒนธรรม การเคลื่อนย้ายของบุคลากร โดยรวมจะเป็นการเคลื่อนย้ายจากประเทศ
ที่มีระดับการพัฒนาน้อยกว่าไปสู่ประเทศที่มีระดับการพัฒนามากกว่า แต่ละประเทศมีมาตรการรองรับการเคลื่อนย้ย
บุคลากรแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความต้องการ ประเทศที่มีความต้องการบุคลากรจะเปิดรับการเคลื่อนย้ายทันที แต่
ประเทศที่ยังไม่ต้องการจะชะลอการเปีดรับ การเคลื่อนายบุคลากรในยุโรปมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้าน
บวกคือการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดีขึ้นในประเทศผู้รับ ทั้งยังเป็น โอกาสการทำงานและแลกเปลี่ยนความรู้ ผลด้านลบเกิด
กับคุณภาพของการให้บริการสุขภาพอันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางภาษา ระดับกรศึกษา และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของ
บุคลากรจากประเทศอื่น นอกจากนี้ยังเกิดการขาดแคลนบุคลากรในประเทศผู้ส่ง มาตรการที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้ในการ
ธำรงบุคลากร คือมาตรการทางการเงิน ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยคือ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของแต่ละ
ประเทศควรกำหนดจุดยืนร่วมในทิศทางเดียวกันของแต่ละวิชาชีพ ในระยะสั้นซึ่งยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ กวรใช้กลไกของ
สภาวิชาชีพเป็นตัวกำหนดจุดยืน ในระยะยาวควรกำหนดหยุดยืนที่ได้จากการวิเคราะห์ฉากทัศน์สถานการณ์ของประเทศ
ไทยในอนาคตร่วมกับบริบทของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ เป็นสำคัญ
ร่วมจัดทำโดย
Today | This Month | Total | |||
318 | 6435 | 155653 |